วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานสรุปบทความ


           วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ

http://kunkruoum.blogspot.com/2011/08/blog-post_28.html  ลิงค์บทความ

สรุปงานโทรทัศน์ครู

    
จากการชมรายการโทรทัศน์ครู 
ตอน ทดลองวิทย์ให้ง่าย ได้ประโยชน์กับชีวิตจริง - Practically science 

       แซลี่ โครว์ ให้เด็กๆทำการสำรวจของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ความชอบของแซลี่ในการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้และการจำศัพท์วิทยาศาสตร์
      เป็นการสอนที่เยี่ยมมาก เป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการทดลองดังกล่าวนั้นสามารถหาอุปกรณ์ได้ง่ายๆทั่วไปรอบตัวเรา ราคาไม่แพงแต่สามารถส่งเสริมให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมองเห็นภาพในแต่ละขั้นตอนของการทดลอง และเข้าใจถึงการสอนของครูที่เป็นลำดับขั้นตอนจากการแยกสารแบบง่ายๆจนถึงการแยกสารออกจากกันในขั้นตอนที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ชอบเทคนิคการสอนการแยกสารมาก ให้นักเรียนสังเกต คิดค้นหาวิธีการคำตอบด้วยตนเอง โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้ความรู้คู่ คุณธรรม

ลิงค์โทรทัศน์ครู  http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=66

สรุปงานวิจัย


เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
(A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)
ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์


         พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มีความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วนและการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผล และต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฏีพหุปัญญา
         การ์ดเนอร์ ได้คิดทฤษฏีพหุปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา เกิดจากศึกษาเรื่องสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายของบุคคล และมีความเชื่อว่าสติปัญญาแต่ล่ะด้านจะอยู่ที่ต่างๆของสมอง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีความสามารถทางสติปัญญาได้หลายด้าน คนเราไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนอย่างเดียวแต่สติปัญญายังมีอีกหลายด้านและแต่ละคนมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่สามารถพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้านได้มากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งการ์ดเนอร์ เชื่อว่าแม้ว่าคนแต่ละคนจะมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากันแต่ก็สามารถพัฒนาสติปัญญาทั้ง 8 ด้านได้ คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจผู้อื่น ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
 1 สมองใหญ่ 
 2 สมองเล็ก 
 3 ก้านสมอง
           สมองกับสติปัญญาและการเรียนรู้นั้นสมองของเด็กมีการปรับเปลี่ยนได้ทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่ การเรียนรู้ที่ได้จากสภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองได้อย่างมากในการพัฒนาสติปัญญาขึ้นอยู่กับสมอง เด็กที่ได้รับการกระตุ้นจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้สมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและความสามารถในการเรียนรู้ของสมองเด็ก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยแต่ละปัจจัยแต่ละปัจจัยมีบทบาทที่สำคัญและจะเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการช่วยใหเด็กเรียนดีจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทุกด้านและทำการแก้ไขปัจจัยดังกล่าวให้ดีขึ้น เด็กที่มีทางเดินเส้นประสาทที่ใช้ในการคิดและเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างเชลล์สมองจำนวนมากจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเด็กทั่วไป ฉะนั้นการส่งเสริมการพัฒนาสมองให้เกิดความสมดุลจะส่งผลในการพัฒนาพหุปัญญาในเด้กปฐมวัย


คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล
          การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่มีลักษณะที่สำคัญที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป้นทักษะขั้นสูงมาเป็นแนวในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาในระดับปฐมวัย ตามแนวของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จำนวน 8 ด้านคือ 1.ความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษา 2.ความสามารถทางสติปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ความสามารถทางสติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.ความสามารถทางสติปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5.ความสามารถทางสติปัญญาด้านดนตรี 6.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น 7.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 8.ความสามารถทางสติปัญญาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการการเรียนรู้เชื่อมโยงกับความสนใจของเด็กและบูรณาการสาระการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นการทำงานกลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัย ตลอกจนลงมือปฏิบัติกิจกรรม จากการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน


ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
  1. ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
  2. ขั้นการตั้งสมมุติฐาน ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์ 
  3. ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  4. ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
  5. ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต


บักทึกการเรียนครั้งที่ 18

บักทึกการเรียนครั้งที่ 17

บักทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บักทึกการเรียนครั้งที่ 15

-อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนในการทำอาหาร

-อาจารย์ให้แก้ไขบล็อคให้เรียบร้อย


***หมายเหตุ ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย***