วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานสรุปบทความ


           วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ

http://kunkruoum.blogspot.com/2011/08/blog-post_28.html  ลิงค์บทความ

สรุปงานโทรทัศน์ครู

    
จากการชมรายการโทรทัศน์ครู 
ตอน ทดลองวิทย์ให้ง่าย ได้ประโยชน์กับชีวิตจริง - Practically science 

       แซลี่ โครว์ ให้เด็กๆทำการสำรวจของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ความชอบของแซลี่ในการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้และการจำศัพท์วิทยาศาสตร์
      เป็นการสอนที่เยี่ยมมาก เป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการทดลองดังกล่าวนั้นสามารถหาอุปกรณ์ได้ง่ายๆทั่วไปรอบตัวเรา ราคาไม่แพงแต่สามารถส่งเสริมให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมองเห็นภาพในแต่ละขั้นตอนของการทดลอง และเข้าใจถึงการสอนของครูที่เป็นลำดับขั้นตอนจากการแยกสารแบบง่ายๆจนถึงการแยกสารออกจากกันในขั้นตอนที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ชอบเทคนิคการสอนการแยกสารมาก ให้นักเรียนสังเกต คิดค้นหาวิธีการคำตอบด้วยตนเอง โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้ความรู้คู่ คุณธรรม

ลิงค์โทรทัศน์ครู  http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=66

สรุปงานวิจัย


เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
(A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)
ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์


         พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มีความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วนและการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผล และต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฏีพหุปัญญา
         การ์ดเนอร์ ได้คิดทฤษฏีพหุปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา เกิดจากศึกษาเรื่องสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายของบุคคล และมีความเชื่อว่าสติปัญญาแต่ล่ะด้านจะอยู่ที่ต่างๆของสมอง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีความสามารถทางสติปัญญาได้หลายด้าน คนเราไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนอย่างเดียวแต่สติปัญญายังมีอีกหลายด้านและแต่ละคนมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่สามารถพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้านได้มากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งการ์ดเนอร์ เชื่อว่าแม้ว่าคนแต่ละคนจะมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากันแต่ก็สามารถพัฒนาสติปัญญาทั้ง 8 ด้านได้ คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจผู้อื่น ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
 1 สมองใหญ่ 
 2 สมองเล็ก 
 3 ก้านสมอง
           สมองกับสติปัญญาและการเรียนรู้นั้นสมองของเด็กมีการปรับเปลี่ยนได้ทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่ การเรียนรู้ที่ได้จากสภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองได้อย่างมากในการพัฒนาสติปัญญาขึ้นอยู่กับสมอง เด็กที่ได้รับการกระตุ้นจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้สมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและความสามารถในการเรียนรู้ของสมองเด็ก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยแต่ละปัจจัยแต่ละปัจจัยมีบทบาทที่สำคัญและจะเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการช่วยใหเด็กเรียนดีจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทุกด้านและทำการแก้ไขปัจจัยดังกล่าวให้ดีขึ้น เด็กที่มีทางเดินเส้นประสาทที่ใช้ในการคิดและเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างเชลล์สมองจำนวนมากจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเด็กทั่วไป ฉะนั้นการส่งเสริมการพัฒนาสมองให้เกิดความสมดุลจะส่งผลในการพัฒนาพหุปัญญาในเด้กปฐมวัย


คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล
          การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่มีลักษณะที่สำคัญที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป้นทักษะขั้นสูงมาเป็นแนวในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาในระดับปฐมวัย ตามแนวของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จำนวน 8 ด้านคือ 1.ความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษา 2.ความสามารถทางสติปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ความสามารถทางสติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.ความสามารถทางสติปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5.ความสามารถทางสติปัญญาด้านดนตรี 6.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น 7.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 8.ความสามารถทางสติปัญญาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการการเรียนรู้เชื่อมโยงกับความสนใจของเด็กและบูรณาการสาระการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นการทำงานกลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัย ตลอกจนลงมือปฏิบัติกิจกรรม จากการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน


ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
  1. ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
  2. ขั้นการตั้งสมมุติฐาน ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์ 
  3. ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  4. ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
  5. ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต


บักทึกการเรียนครั้งที่ 18

บักทึกการเรียนครั้งที่ 17

บักทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บักทึกการเรียนครั้งที่ 15

-อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนในการทำอาหาร

-อาจารย์ให้แก้ไขบล็อคให้เรียบร้อย


***หมายเหตุ ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย***

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14


*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด แต่อาจารย์ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานที่ลำปลายมาสมาส่งอาทิตย์ถัดไปให้เรียบร้อย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

*******ไม่มีการเรียนการสอน******  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ คือ  การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน 



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12


ไปศึกษาดูงานตั้งวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
และ 
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

*ไม่มีการเรียน การสอน  แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำ ดังนี้


  1. ทำการทดลองวิทยาศาสตร์
  2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 
  3.  ทำว่าวใบไม้
* กิจกรรมทุกชิ้น  ต้องมีภาพถ่ายลงบล็อค*




เคล็ดลับความสวย ดูแลข้อศอกและหัวเข่าด้วยน้ำผึ้ง

 

ข้อศอกและหัวเข่า ต้องได้รับการดูแลตลอด แม้ไม่ใช่ฤดูหนาวก็ตาม เพื่อไม่ให้ผิวพรรณบริเวณนั้นนุ่มนวลไม่แห้งกร้าน โดยเฉพาะในฤดูหนาวหรือคนที่ต้องทำงานในห้องแอร์ตลอด ข้อศอกและหัวเข่านั้นจะดูแห้งกร้านและมีรอยคล้ำจนเห็นได้ชัดกว่าส่วนอื่นๆ เคล็ดลับความสวย ในตอนนี้เรามาดูแลผิวพรรณบริเวณข้อศอกและหัวเข่าด้วยน้ำผึ้งกันดีกว่า

* ขั้นตอนแรก เตรียมน้ำผึ้งแท้ประมาณ 6-7 ช้อนโต๊ะ แล้วนำไปอุ่นให้พอดี อย่าให้ร้อนจนเกินไป

* ขั้นตอนที่สอง ทำความสะอาดข้อศอก มือและหัวเข่าให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู

* ขั้นตอนสุดท้าย ใช้ปลายนิ้วแตะน้ำผึ้งอุ่นๆที่เตรียมไว้ มาทาถูให้ทั่วๆข้อศอกและหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง ขณะกำลังทาน้ำผึ้งนั้นก็ให้ออกแรงนวดคลึงบริเวณนั้นด้วย ทาจนน้ำผึ้งที่เตรียมไว้จนหมด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ เป็นอันเรียบร้อย

เคล็ดลับความสวย ด้วยน้ำผึ้งนี้ควรทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อผิวพรรณที่นุ่มนวลไม่แห้งกร้าน

 

บันทึกการเรียนครั้งที่10

-วันนี้อาจารย์จ๋าได้ปรึกษษหารือในการที่ไปดูงานที่ มรภ.นครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาการแบ่งหน้าที่บริหารจัดการแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ทำไรบ้าง

-อาจารย์ได้ตรวจบล็อคและให้คำแนะนำในการทำบล็อคให้ถูกต้องตรวจทุกคนใครที่ยังไม่ทำบล็อคไปจัดการให้เรียบร้อย

-นัก ศึกษาคนไหนที่ยังไม่ได้ทำสื่อวิทยาศาสตร์ (การเข้ามุม การทดลอง และของเล่นวิทยาศาสตร์) ลงบล็อคให้นักศึกษาให้นักศึกษาแต่ละคนไปทำลงบล็อคให้เรียบร้อยโดยรูปแต่ละ รูปจะต้องเป็นการปฏิบัติงานจริงทั้ง3สื่อ(การเข้ามุม การทดลอง และของเล่นวิทยาศาสตร์

 เชตของพวกเราพอหลังจากหมดเวลา พวกเราก็ปรึกษาหารือกันในเรื่องของการแบ่งฝ่าย ในการเตรียมงาน กลุ่มของเพื่อเราก็แบ่งฝ่ายตามนี้

 1.  การประสานงาน          จำนวนคน  7
2. ประชาสัมพัธ์                 จำนวนคน 5 
3. ฝ่ายประเมินผล             จำนวนคน 7
4. งบประมาณ                   จำนวนคน 4
5. ลงทะเบียน                    จำนวนคน 6
6. สวัสดิการ                      จำนวนคน 7  (กลุ่มดิฉัน รับผิดชอบ)
7. พิธีการ กล่าวขอบคุณ    จำนวนคน 
    7.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา
    7.2  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

*****ไมีมีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วม************


โครงการที่22
โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ)
โครการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย


 

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

*******************วันนี้เป็นการสอบกลางภาคจึงไม่มีการเรียนการสอน**********************


        เผยเคล็ดลับเรียนดี 9 วีธีดังนี้
วิธีเรียนให้ได้ 4.00 แม้หัวจะงี่เง่าปานใด ..
1.เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบ
สำคัญโคตรจะที่สุดเลยข้อนี้
คุณชอบอะไร คุณเรียนไปเลย พอคุณมีความสุขกับสิ่งที่เรียน คุณจะทำมันได้ดีเอง เชื่อสิ
อย่า ให้ค่านิยมมาบอกคุณว่าคุณต้องเรียนสายวิทย์ คุณต้องเลือกคณะแพทย์ ชีวิตเป็นของคุณนะ คุณเป็นคนเรียน ไม่ใช่ใครคนอื่น

2.เลือกวิชาผ่อนคลายบ้างก็ดี
เลือกวิชาอะไรที่มันไม่ใช่วิชาการบ้างเหอะคุณ อย่าระห่ำตักตวงความรู้นักเลย ชีวิตไม่ได้มีแค่ตำรานะ

3.พักผ่อนมากๆ
การพักผ่อนแบ่งออกได้เป็นสามอย่างหลักที่คุณควรจะทำในวัยเรียน
1.ทำกิจกรรมโรงเรียน -- ทำมากๆ สนับสนุน คุณจะได้ประสบการณ์โคตรๆแบบที่หาไม่ได้ในตำราเลยแต่ต้องระวังแบ่งเวลาให้เป็นด้วยนะ
2.ออกกำลังกาย -- สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาทีนี่กำลังดีเลย ถ้าจะให้ดีคุณควรเล่นกีฬาทีม เพราะจะได้มนุษยสัมพันธ์ด้วย
3.นอนหลับ -- สำคัญที่สุด อย่าให้น้อยกว่า 2 ชม อย่าให้มากกว่า 6 ชมนะ ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่า มันจะส่งผลให้ทั้งวันคุณง่วง อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง
4.ทำอะไรตามใจตัวเอง เช่น เล่นเน็ท ดูทีวี อ่านนิยาย -- ทำอะไรเหมือนที่มนุษย์เค้าทำเหอะนะ อย่าไปทรมานตัวเองเลยว่าฉันจะต้องฟิต ไม่เล่นเน็ท ไม่ดีหรอกคุณ ทรมานตัวเองเปล่าๆ ขอบอก เล่นได้ทุกวัน แต่ทุกวันของคุณควรมีลิมิตว่าวันละเท่าไหร่ กี่นาที แล้วควบคุมตัวเองให้ได้ 
สิ่งสำคัญคือการควบคุมตัวเองได้นะ จำไว้


4.อย่ามีงานค้าง ตามงานให้ทัน
สำหรับ ผมแล้ว "งาน" สำคัญกว่าสอบ สมัยนี้เนี่ย คะแนนเก็บเยอะกว่าคะแนนสอบทั้งนั้นแหละ ขอให้คุณทำคะแนนเก็บให้ดีๆ บางครั้ง คะแนนสอบ คุณก็จะแทบไม่ต้องอ่านเลย

5.ไม่ต้องท็อป แต่ต้องเกาะกลุ่มคะแนนดีกับทุกวิชา
อย่าไปให้ความสำคัญกับการท้งการท็อป ไม่ใช่ว่าท็อปแล้วจะเป็นคนเก่ง แต่คนเอาตัวรอดได้ตะหากเก่งหลายคนที่ท็อปเลข แต่ดันไปเกรด 1 วิชาศิลปะ อันนี้ก็ไม่เข้าท่านะ .. ถ้าคุณต้องการ 4.00สิ่งที่คุณควรจะทำคือ ทำเลข กับทำศิลปะให้ได้เกรดพอจะ 4.00 ทั้งคู่ แต่ไม่ควรจะทุ่มกับอะไรเว่อร์เกินไป

6.เผื่อแผ่ความรู้ให้คนอื่น
การเผื่อแผ่ความรู้ให้คนอื่น จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งตัวคุณเอง และคนรอบข้างกับตัวคุณเอง คือคุณจะได้เช็คตัวเองว่ารู้จริงหรือไม่ และคุณจะได้บุญ เพื่อนๆจะรักคุณ ไม่เห็นว่าคุณเป็นคนเก่งที่เห็นแก่ตัวกับคนรอบข้าง แน่ล่ะ เค้าจะได้ความรู้
จำไว้ว่าอย่าเป็นคนเก่งที่เห็นแก่ตัว พวกนี้ไม่น่าเกิดมาบนโลกยิ่งกว่าคนโง่ๆอีก

7.อย่าหักโหม
ไม่ใช่ว่าการอ่านยัด จะประสบความสำเร็จทุกครั้งไปการอ่านยัด มักประสบความสำเร็จกับวิชาสั้นๆที่จำแป๊บเดียวก็ลืมได้
เช่น วิชาสังคมศึกษา และภาษาไทย จะเป็นอะไรที่ยาวมากๆๆๆ อย่าหวังเลยว่าจะอ่านยัดแล้วจำได้ในคืนเดียว สองวิชานี้คุณต้องอาศัยการจำให้ได้"คร่าวๆ" ในห้องเรียน (คือไม่ต้องไปจำแม่น บ้าเรียนขนาดนั้น) พอใกล้สอบจริงๆ เอาไอ้คร่าวๆของคุณนี่แหละ มานั่งอ่านแต่เนิ่นๆ ค่อยๆอ่านนะ อย่าหักโหม

8.รู้ตัวอยู่เสมอว่าเรียนเรื่องอะไรอยู่
ไม่ ใช่ว่าจะอยากให้กระตือรือล้นจนเว่อ เรื่องเล่นไปเรียนไปเป็นเรื่องธรรมดามากๆ แต่ขอให้คุณรู้เถอะ ว่าคุณกำลังเรียนเรื่องอะไร หัวข้ออะไรอยู่ อย่างเรียนเรื่องประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ คุณไม่ต้องจำได้เดี๋ยวนั้นว่า รัชกาลไหนสร้างอะไร แต่จำไว้ก็พอว่า คุณกำลังเรียนหัวข้ออะไร การปกครอง วัฒนธรรม หรือ สังคม

9.มีเป้าหมาย
คุณไม่มีความสุข และจะไม่กระตือรือล้นเลย ถ้าคุณไม่มีเป้าหมาย เป้าหมายของเด็กมัธยมทั่วไป แน่นอน คือเอนท์ติด พอมามหาวิทยาลัย เป้าหมายก็คือ เรียนให้ได้เกรดดีๆ จบออกไปหางานทำได้ อย่าลืมตั้งเป้าหมายของคุณนะ เพราะมันจะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้


     **ข้อมูล**

บันทึกการสอนครั้งที่ 7

การเรียน  การสอน 
-  อาจารย์ให้นักศึกษารวมกันตอบ และสักถามอภิปรายในเรื่องของ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  







บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

****ไม่มีการเรียนการสอน****


   สื่อที่สามารถทำร่วมกับเด็กได้

ดอกไม้จากเศษกระดาษ


อุปกรณ์

-กระดาษสี
-กรรไกร
-กาว
-ไม่ลูกลิ้นที่ไม่มีปลายแหลม

วิธีทำ

-ตัดกระดาษสีให้เป็นเส้นๆตามที่ต้องการ
-เมื่อได้แล้วนำกระดาษสีมาทำเป็นรูปดอกไม้และติดกาว
-นำดอกไม้ที่ได้ไปติดกับไม้ลูกชิ้น
-ตกแต่งให้สวยงามตามที่ต้องการ







สื่อทดลอง

การดับเทียนด้วยผงฟูน้ำส้มสายชู




สิ่งที่ต้องใช้

  • เทียน
  • ไฟแช็ค
  • ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้มสายชู


วิธีทดลอง

  • นำเบคกิ้งโซดาใส่แก้ว
  • ปักเทียนลงไปที่อยู่ในแก้ว
  • จุดไฟที่เทียน
  • แล้วนำน้ำส้มสายชูมาหยดใส่ในแก้วแล้วเทียนจะค่อยๆดับ

เพราะอะไรกันนะ

            เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้    เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

การเรียนการสอน

 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เตรียมงานออกไปนำเสนอ สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของแต่ละคน ให้พร้อมและให้พูดถึงสิ่งที่เตรียมมาประดิษฐ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

 - อาจารย์บอกว่าถ้าชิ้นงานชิ้นไหนซ้ำกับเพื่อนก็ต้องออกมานำเสนอ แต่งานชิิ้้นนักศึกษาต้องประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)


                                                        จรวดหลอดกาแฟ


อุปกรณ์1. กระดาษ A4 ตัดให้ได้ขนาด 15 x 6 cm. 1 แผ่น
2. Post-it (ขนาด 1” x 3” หรือขนาดอื่นมาประยุกต์ใช้)  3 แผ่น
3. ไม้จิ้มฟัน 1 อัน
4. ดินน้ำมันปั้นน้อยๆ 1 ก้อน (เล็กใช้ดินโพลีเมอร์นะคะ พอดีที่บ้านมีอยู่แล้วค่ะ)
5. หลอดกาแฟ 2 อัน (หลอดงอได้เอาไว้ใช้ตอนเล่นค่ะ)
6. กาว
7. ดินสอไม้ หรือวัสดุแท่งกลมๆ ขนาดใกล้เคียงดินสอ



วิธีทำส่วนลำตัวจรวด• นำกระดาษ A4 มาพันม้วนรอบดินสอเป็นแนวเฉียงจนสุดกระดาษ จากนั้นทากาวปิดปลาย
• ดึงดินสอออก จะได้แท่งกระดาษทรงกระบอกค่ะ 
• ตัดปลายหัว-ท้ายออก ให้เหลือความยาวประมาณ 9 cm. จะได้ตัวจรวดค่ะ 
*ขั้นตอนนี้ใครจะใช้หลอดกาแฟแท่งใหญ่ๆ มาใช้แทนเลยก็ได้เหมือนกันค่ะ
• ตัดหลอดกาแฟให้ได้ความยาวประมาณ 2.5 cm.
• ใช้ดินน้ำมันเป็นตัวยึดหลอดกาแฟเข้ากับจรวดที่เป็นแท่งกระดาษ ใช้นิ้วแต่งดินน้ำมัน
• หักยอดแหลมของไม้จิ้มฟันมาติดที่ส่วนปลายสุดของจรวด โดยใช้ดินนำมันยึด  ถ้าทำให้น้องเล็กๆ เล่น อาจจะไม่ต้องติดไม้จิ้มฟันก็ได้นะคะ
• ใช้นิ้วปั้นแต่งดินน้ำมัน


ต่อไปก็ตกแต่งส่วนปีกด้านล่างของจรวด
• นำกระดาษ Post-it (ทั้ง 3 แผ่นติดกันเลยนะคะ) มาตัดข้างที่เป็นกาวออกประมาณ 0.5 cm. (
• จากนั้นตัดเป็นแนวเฉียง
• พับ แล้วดึงออกมาติดที่รอบฐานล่างของจรวด เป็นอันเสร็จค่ะ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

- วันนี้อาจารย์นำสื่อ(ของเล่น)นำมาให้ดูและให้เพื่อนๆดู
-อาจารยืจ๋าถามว่า เห็นอะไรในสื่อนี้บ้าง
 

     -วิธีการเล่นของสื่อนี้ให้เอียงลูกปิงปองของเล่นชิ้นนี้จะเห็นคุณสมบัติของแสง คือการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างจึงเกิดเป็นองค์ความรู้ของแสงขึ้นมา

     - อาจารย์แจกการะดาษเอ 4 คลละ 1 แผ่น และให้ตัดเป็น 8 ช่อง แล้วนำมาทำเป้นสมุดเล่นเล็กและให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ลงไป จากหน้าที่1 วาดเล็ก หน้า 2 วาดต่อเติมลงไปจากภาพแรก หน้าที่ 3 วาดต่อเติมลงไปต่อจากหน้า 1 และ 2 จนถึงหน้า 8

    - พอวาดเสร็จอาจารย์ให้ค่อยๆเปิดสมุดแบบเร็วๆเพื่อสังเกตสมุดที่เราวาดว่า มี ความเปลี่ยนแปลงอย่างไร

   - อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอ ความมหัศจรรย์ของน้ำ และ สรุปองค์ความรู้

    - เกิดขึ้นได้อย่างไร
    -ร่างกายคนเรามีน้ำส่วนประกอบกี่เปอเซนต์
    -ผลไม้ชนิดใดบ้างที่มีน้ำประกอบอยู่
    -ประโยชน์ของน้ำ
    - ถ้าร่างกายขาดน้ำจะเกิดผลเสียอย่างไร

ความรู้ที่ได้รับจากคาบนี้
-ได้ทำกิจกรรมการวาดรูปสร้างความคิดสร้างสรรค์
-ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการวาดรูป
-ได้บูรณาการ ด้านศิลปะการวาดรูป
-ได้ความรู้เรื่อง ความมหัสจรรย์ของน้ำ
      

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

สรุปองค์ความรู้ความลับของแสง


แสง (อังกฤษ: light) คือการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย สมบัติพื้นฐานของแสง (และของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงคลื่น) ได้แก่
  • ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง)
  • ความถี่ (หรือความยาวคลื่น ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง) และ
  • โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้)
แสงจะแสดงคุณสมบัติทั้งของคลื่นและของอนุภาคในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค ธรรมชาติที่แท้จริงของแสงเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของฟิสิกส์สมัยใหม่

แสงมีคุณสมบัติทวิภาวะ กล่าวคือ
  1. แสงเป็นคลื่น : แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยที่ระนาบการสั่นของสนามแม่เหล็กตั้งฉากกับระนาบการสั่นของสนามไฟฟ้า และตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น และแสงก็มีการเลี้ยวเบนด้วย ซึ่งการเลี้ยวเบนก็แสดงคุณสมบัติของคลื่น
  2. แสงเป็นอนุภาค : แสงเป็นก้อนพลังงานมีค่าพลังงาน



 1. สีของแสง
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว  ซึ่งประกอบด้วยแสง  7 สี  ผสมอยู่ด้วยกัน  เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง  7  สีได้  โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า  สเปกตรัม (Spectrum)  ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม  ได้แก่  หยดน้ำฝน  ละอองไอน้ำ  โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ  เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง  7  สี  ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า  ที่เรียกว่า   รุ้งกินน้ำ  (ภาพที่  12.2) 
          สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ  แสงทั้ง  7  สี  จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว  3 x  108  เมตรต่อวินาที  เท่ากันทุกสี  แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง  เช่น  แก้ว  กระดาษ  พลาสติก  แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน  โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ  คือ  บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ)  
          เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง  หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ  หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง  2  ชนิด  จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป  เราเรียนว่า เกิด
แสงการหักเห  ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น  แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง  ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง   ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น  7  สีนั้นเอง

2. การเคลื่อนที่ของแสง
แสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง  เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่ต่างกัน จะเกิดการหักเห  แต่จะผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อเดินผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นเท่ากันหรือเป็นตัวกลางชนิดเดียวกัน
          เลนส์และปริซึมเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงที่ส่องผ่าน  ต่างกันตรงที่ปริซึมสามารถแยกลำแสงที่ส่องผ่านออกเป็นแสงสีต่างๆ ตามองค์ประกอบของแสงนั้น ๆ หรือที่เรียกว่า สเปกตรัม (spectrum)

3.การหักเหของแสง
แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน  ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไป
          เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ 
          ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ  ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก  ความเร็วของแสงจะลดลง  จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม  เรียกว่า  แสงเกิดการหักเห

4.การสะท้อนแสง
 แสงที่เดินทางจากตัวกลางที่โปร่งแสงไปสู่ตัวกลางที่โปร่งใส  เช่น  จากแก้วไปสู่อากาศ ถ้ามุมตกกระทบน้อย   กว่า  42  องศา  แสงบางส่วนจะสะท้อนกลับและบางส่วนจะทะลุออกอากาศ แต่ถ้าที่มุมแก้วตกกระทบแก้วกับ  42  องศา  แสงจะสะท้อนกลับคืนสู่แก้วหมดไม่มีแสงออกจากอากาศเลย  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า  การสะท้อนกลับหมด  นั้นคือ  รอยต่อแก้วกับอากาศทำหน้าที่เสมือนการตกกระทบที่จะทำให้แสงสะท้อนกลับหมด  ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลาง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

-อาจารย์จ๋าให้แบ่งกลุ่มๆละ6คนทำงานกลุ่ม
-อาจารย์แจกชีสหัวข้อ วิทยาศาสตร์
-ให้ปรึกษากันในกลุ่มและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
-สรุปความคิดเห็นของแจฃต่ละกลุ่มแล้วนำไปรายงานหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง

   หัวข้อมีดังนี้
-ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
-พัฒนาการด้านสติปัญญา
-การเรียนรู้
-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-กระบวนการทางวิทยาศสาตร์

    ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
-ความสามีคคีในการทำงานกลุ่ม
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากเพื่อนกลุ่มอื่น
-ได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นและกว้างขวาง
-รู้แนวทางและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้้งที่1

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.อาจารย์ปฐมนิเทศในการเรียนการสอนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.อาจาร์อธิบายถึง คำอธิบายรายวิชา แนวการสอน (course syllabus)
3.อาจาร์นัดหมายนักศึกษาที่ติด ไอ ให้ไปลิงค์บล็อคที่ศูนย์ครูเวลา 17.00 น.

    การเขียนอนุทิน คือ การเขียนความรู้ที่ได้รับจากการเรียน บันทึกหลังการเรียน(อาจารย์จ๋า)
    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์
    
    1.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
    2.สถาบัยส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
    3.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์